Warning: fopen(/home/ket0a98nwco7/public_html/wp-content/uploads/cache/blog/_wplatte/_blog.post.php-4cafd7235e583a17a6367e3ffcb32b21.php): failed to open stream: Permission denied in /home/ket0a98nwco7/public_html/wp-content/themes/blog/ait-theme/@framework/vendor/nette-closures.min.inc on line 454

Warning: fopen(/home/ket0a98nwco7/public_html/wp-content/uploads/cache/blog/_wplatte/_parts.post-content.php-2afe4e135d03009093f987bc14d37278.php): failed to open stream: Permission denied in /home/ket0a98nwco7/public_html/wp-content/themes/blog/ait-theme/@framework/vendor/nette-closures.min.inc on line 454

เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กมีความสุข (ทารก 0-12 เดือน)

“ความสุขไม่ใช่สิ่งที่เราให้กับลูก แต่เป็นสิ่งที่เราสอนให้ลูก
“ความสุขที่ดีที่สุดคือความสุขที่มาจากข้างใน”

13164353_1531896943786928_98633595990219152_n

1. อ่านอารมณ์ของลูกให้ออก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ลูกจะแสดงอารมณ์ชัดเจน เช่นดีใจเมื่อเจอหน้าเรา หรือร้องไห้เมื่อมีคนมาหยิบของเล่นไปจากมือ และลูกจะเปลี่ยนจากยิ้มเป็นร้องไห้ได้รวดเร็ว เพราะสมองส่วน cerebral cortex ยังไม่พัฒนาเต็มที่ เมื่อมันพัฒนาเต็มที่แล้ว ลูกก็จะควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ถ้าลูกร้องไห้มากกว่าหัวเราะ ก็แสดงว่าลูกมีปัญหาอะไรบ้างอย่าง แม่จะต้องหาให้เจอว่าลูกร้องเพราะอะไร สำหรับเด็กทารกนั้นยังไม่มีอารมณ์มีความสุขหรือไม่มีความสุขเพราะสมองเขายังไม่พัฒนาจนกว่าจะ 6-8 เดือน เพราะฉะนั้นจะมีแค่พอใจหรือไม่พอใจในสถานการณ์นั้นๆ เวลานั้นเท่านั้น

2. สนุกกับลูก ของเล่นอาจทำให้ลูกยิ้มได้ แต่สิ่งที่ทำให้ลูกมีความสุขที่สุดคือ พ่อแม่ เล่นกับลูกให้สนุก อะไรที่เราสนุก ลูกก็สนุก ทำให้เกิดความผูกพันธ์และความสุข เมื่อลูกโตขึ้นอีกหน่อย การเล่นจะทำให้ลูกค้นพบสิ่งที่ตัวเองชอบทำ ซึ่งอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ลูกชอบไปตลอดชีวิต

3. ช่วยลูกในการพัฒนาทักษะให้สำเร็จชำนาญ เช่น เวลาลูกหัดจับ หัดยืน หัดใช้ช้อนกินข้าว ลูกต้องใช้ความพยายาม ลองผิดลองถูก เมื่อลูกทำสำเร็จ ลูกจะรู้สึกมีความสุขจากผลลัพธ์ของความพยายามนั้น และลูกจะรู้สึกว่าสามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้ ลูกจะรู้ว่าถ้าพยายาม เขาจะทำได้ แต่สิ่งที่ทำนั้นต้องเป็นสิ่งที่ลูกอยากทำด้วย ก็เหมือนกับผู้ใหญ่ ถ้าลูกทำสิ่งที่คนอื่นอยากให้ทำ ถึงจะทำสำเร็จ ก็ไม่ได้รู้สึกมีความสุข

4. สร้างลักษณะนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ นอนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ ให้ลูกออกแรงเล่นเยอะๆ และสังเกตุลูกว่าชอบอะไรแบบไหน เช่น เด็กบางคนไปไหนทำอะไรตอนไหนก็ได้ แต่บางคนชอบทำอะไรตามตาราง อาหารบางอย่างทำให้ลูกหงุดหงิด ไม่สบายหรือแพ้

5. ปล่อยให้ลูกหาทางเอง ในช่วง 6 เดือนแรก เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรีบเข้าช่วยเหลือเวลาลูกร้อง แต่หลังจากนั้น พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ลองจัดการตัวเองบ้าง ในช่วงขวบปีแรก ลูกเรียนรู้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น นั่ง คลาน จับของ เดิน พูด สิ่งเหล่านั้นสร้างความมั่นใจและความพึ่งพอใจให้กับลูกเต็มเปี่ยม ดังนั้นถ้าลูกทำของเล่นตก และเอื้อมหยิบไม่ถึง อย่าเพิ่งช่วยลูก ให้เขาลองพยายามและสนับสนุนให้เขาลองทำเองดูก่อน ความยาก ความไม่ได้ดั่งใจเล็กน้อยเหล่านี้ช่วยสร้างความแข็งแกร่งข้างในให้ลูก ไม่ว่าจะเป็นเด็ก 7 เดือนที่พยายามจะคลาน หรือเด็ก 7 ขวบที่พยายามจะคิดเลขลบเลข ปัญหาพวกนี้จะช่วยให้ลูกรู้จักจัดการปัญหา และประสบความสำเร็จ

6. ปล่อยให้ลูกเศร้าหรือโกรธ เป็นเรื่องปกติที่เด็กจะมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย เพราะฉะนั้นอย่าตื่นตระหนกเวลาลูกเศร้าหรือโกรธในสถานการณ์นั้นๆ เพราะมันไม่ได้แปลว่าลูกไม่มีความสุข ข้อนี้สำคัญมากเมื่อลูกโตขึ้น บางครั้งลูกเศร้าเพราะเพื่อนไปชวนไปงานวันเกิด หรือไม่ได้สิ่งที่ต้องการ พ่อแม่ก็เป็นห่วง อยากจะเข้าไปแก้ไขให้ แต่จริงๆแล้ว เด็กต้องรู้ว่ากความผิดหวัง ความเศร้า ความโกรธ เป็นอารมณ์ที่ปกติ เป็นธรรมดา ถ้าพ่อแม่พยายามจะทำให้อารมณ์พวกนี้ไม่มีตัวตน พ่อแม่อาจทำให้เด็กรู้สึกว่า การมีอารมณ์พวกนี้เป็นเรื่องที่ผิดได้

7. สอนให้ลูกรู้จักแบ่งปันและดูแลผู้อื่น สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ลูกเล็กๆ เช่น เราป้อนลูก ลูกป้อนเรา เราหวีผมให้ลูก ลูกหวีผมให้เรา แสดงให้ลูกเห็นว่าเรารู้สึกดีแค่ไหนเวลาลูกแบ่งให้เราและดูแลเรา

8. เป็นตัวอย่างให้ลูก ข้อนี้ง่ายๆ ถ้าเราอารมณ์ดี ลูกก็อารมณ์ดี เรายิ้มลูกก็จะยิ้มตาม แม้กระทั้งเด็กทารกเล็กๆก็เลียนแบบอารมณ์ของพ่อแม่ เพราะฉะนั้นสำหรับแม่มือใหม่ที่รู้สึกเหนื่อยกับการเลี้ยงลูก ถ้ารู้สึกว่าเศร้าซึมมากและเป็นระยะเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจส่งต่ออารมณ์นั้นไปสู่ลูกได้

ที่มา
http://www.babycenter.com/0_how-to-raise-a-happy-baby-and-child-birth-to-12-mo_1490882.bc?page=1


Warning: fopen(/home/ket0a98nwco7/public_html/wp-content/uploads/cache/blog/_wplatte/_parts.pagination.php-5ca599d906467708b98eec4d813f72a9.php): failed to open stream: Permission denied in /home/ket0a98nwco7/public_html/wp-content/themes/blog/ait-theme/@framework/vendor/nette-closures.min.inc on line 454